VisuaLIFEzation
แก้ปัญหาชีวิตด้วยการคิดเป็นภาพ
นี่คือหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องกระบวนการคิดเป็นภาพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต ซึ่งผ่านการศึกษาค้นคว้าจากศาสตร์ด้านการออกแบบ Design Thinking การคิดเป็นภาพ Visual Thinking นำมาประยุกต์กับจิตบำบัดแบบการปรับความคิด และพฤติกรรม Cognitive Behavioral Therapy เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ อย่างราบรื่นและเห็นคุณค่า ในตัวเองและในฐานะมนุษย์ที่มีศักยภาพ
หากนักออกแบบสามารถใช้ทักษะการทำความเข้าใจคนอย่างลึกซึ้งมาก ๆ แบบนักบำบัด เพื่อออกแบบงานโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง (Human-centered design) ให้ดียิ่งขึ้นได้ นักบำบัด ผู้ให้คำปรึกษา หรือแม้แต่คนธรรมดาที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น ก็สามารถใช้ Visual Thinking และ Visual Facilitation ร่วมกับกระบวนการทำบำบัดเพื่อช่วยให้คนมีสุขภาพใจที่ดีขึ้นและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตได้เช่นกัน
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
Blog
DCBT -Designing Cognitive Behavioral Thinking: the workshop for medical externs
A year before the pandemic, I had the opportunity to work on a project which had tremendous positive output. My colleague and I designed ...
Jun 01, 2023 / Read More
Graphic recording, studio work, and visual facilitation — what’re the differences?
When you are considering using a visual work service, it is important to know what will work best for your event. Here is a brief introdu...
Nov 14, 2022 / Read More
Self-care culture
If you are a facilitator, graphic recorder, or teacher, you know we use a lot of muscles when performing our job, standing, almost all da...
Oct 31, 2022 / Read More
When I was in a movie called “Super Salaryman”
Never had I ever imagined I would be in a film or even be a part of the industry; after all I don’t live in LA or Mumbai. This changes ar...
Jul 29, 2022 / Read More
กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 7
นักออกแบบสามารถใช้ทักษะการเข้าใจคนอย่างลึกซึ้งมาก ๆ เพื่อออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง (Human-centered design) ได้ดียิ่งขึ้นจากศาสตร์การทำจิ...
Sep 09, 2021 / Read More
กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 6
📕 มีเพื่อนถามว่า “หน้าปกนี่ มี concept มั้ย?” (เพื่อนคนนี้ต้องเป็นนักออกแบบแน่ ๆ เลย 😆 ถ้าเป็นเพื่อนทำงานแบบอื่นคงไม่ถามแบบนี้ )
Sep 09, 2021 / Read More
กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 5.2
“…ทุกวันนี้ คนจำนวนมาก ‘พูด’ เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบและนวัตกรรม แต่นักออกแบบอย่างแพรวคือคนกลุ่มเล็กที่เน้นในเรื่องของการ ‘ทำ’
Sep 09, 2021 / Read More
กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 5.1
ในหนังสือหลาย ๆ เล่มที่เคยอ่านมา เราจะเห็น คำนิยม จากคนมีชื่อเสียงมาเขียน เพื่อเพิ่มมูลค่าหรือดูเป็นการชวนเชิญให้คนอยากอ่านหนังสือเล่มนั้...
Sep 09, 2021 / Read More
กว่าจะมาเป็น VisuaLIFEzation ตอนที่ 3
ความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากที่ตัดสินใจเรื่อง Main idea ของหนังสือได้แล้วว่าคือการผสมผสานกันระหว่าง Design Thinking + Visual Thinking + CBT
Sep 03, 2021 / Read More
เกี่ยวกับผู้เขียน
พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ (แพรว)
Director บริษัท อาร์ทิพาเนีย จำกัด
มีประสบการณ์ทำงานด้าน Design Thinking และ Visual Thinking มากกว่า 15 ปี
ทั้งด้านการออกแบบ สื่อสาร และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
จบปริญญาตรีที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยด้านการออกแบบระดับโลกอย่าง University College London ในสาขา Urban Design ได้วิทยานิพนธ์การออกแบบดีเยี่ยม (distinction)
ต่อมามีความสนใจเรื่องการพัฒนาคนให้มีความคิดสร้างสรรค์ จึงข้ามไปเรียนที่มหาวิทยาลัยระดับโลกทางฝั่งอเมริกา คือ Stanford University จนจบหลักสูตรปริญญาโทอีกใบด้านการออกแบบการเรียนรู้ (Learning, Design, and Technology) ฝึกงานและร่วมทำวิจัยที่ Stanford Behavior Design Lab
ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ในการทำงาน
- ผู้ออกแบบหลักสูตร เวิร์กช็อปและวิทยาดรนำกระบวนการ Design Thinking ในการพัฒนาบุคลากรผลิตภัณฑ์และบริการให้องค์กร เช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) Startup Thailand Design Thinking Bootcamp: Train-the trainers, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), Digital Transformation Agency program ฯลฯ
- ที่ปรึกษา Coach/Mentor และกรรมการตัดสินผลงานให้กับ Accelerator และการประกวดต่าง ๆ เช่น MIT Enterprise Forum, Global Social Venture Competition( GSVC)
- Visual Facilitator/Graphic Recorder สำหรับงาน Symposium และ Conference ต่าง ๆ (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย)
- อาจารย์พิเศษประจำวิชาในหลักสูตร B.A. in Service Innovation ของ College of Innovation มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์พิเศษหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาสุขภาพจิต Cognitive Behavioral Therapy คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย